47
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร เตือนภัยการเกษตรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลมะพร้าว
สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้
อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนตกบางพื้นที่
ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้
มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว
ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ
ทำลายส่วนใบของมะพร้าว โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ในใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ของมะพร้าว และแทะกินผิวใบ ใบมะพร้าวที่ถูกทำลายเมื่อคลี่ใบออกจะมีน้ำตาลอ่อน หากใบมะพร้าวถูกทำลายติดต่อเป็นเวลานานจะทำให้ยอดของมะพร้าวมีสีน้ำตาล เมื่อมองไกล ๆ จะเห็นเป็นสีขาวโพลน ชาวบ้านเรียกมะพร้าวหัวหงอก
แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้
- วิธีเขตกรรมและวิธีกล ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด
- การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เจาะจงกับแมลงดำหนาม เช่น แตนเบียนอะซีโคเดส ฮิสไพนารัม (Asecodes hispinarum) มาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณ และปล่อยทำลายแมลงดำหนามมะพร้าว
- การใช้สารเคมี
- กรณีมะพร้าวสูงกว่า 12 เมตร ให้ฉีดสารเข้าต้น ด้วยสารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา
50 มิลลิลิตรต่อต้น โดยห้ามใช้กับมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิ - กรณีมะพร้าวต้นเล็ก ใช้สารอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 1 กรัม หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 1 กรัม หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 1 กรัม ละลายน้ำ 1 ลิตรต่อต้น ราดบริเวณยอดและรอบคอมะพร้าว หรือ การใช้สารคาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ 4% จีอาร์ ใส่ถุงผ้าที่ดัดแปลงคล้ายถุงชา อัตรา 30 กรัมต่อต้น มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าว
อ้างอิงจาก: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กรมส่งเสริมการเกษตร