เฝ้าระวังโรคช่วงเปลี่ยนฤดู

979

กรมประมง เตือนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเฝ้าระวังโรคในช่วงเปลี่ยนฤดู

ด้วยขณะนี้สภาพอากาศของประเทศไทยได้เปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน โดยในหลายพื้นที่เริ่มมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาวะอากาศ อุณหภูมิน้ำ และออกซิเจนในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ซึ่งได้ส่งผลต่อสัตว์น้ำที่เกษตรกรทำการเพาะเลี้ยงทั้งในบ่อดินและกระชังในแม่น้ำ ลำคลอง รวมถึงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ  รับเชื้อโรคได้ง่าย และตายอย่างฉับพลัน

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงได้มีระบบการเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำทั้งแบบเชิงรุกและเชิงรับอย่างต่อเนื่อง โดยจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในขณะนี้พบรายงานว่ามีการทยอยตายของ “กุ้งก้ามกราม” ในเขตการเลี้ยงของพื้นที่จังหวัดนครปฐม และราชบุรีมากผิดปกติ ซึ่งจากการวิเคราะห์คาดว่ามีสาเหตุมาจากการได้รับเชื้อก่อโรค หรือมีปัจจัยโน้มนำทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาพพื้นบ่อไม่เหมาะสม มีการสะสมของเสีย หรือมีปริมาณสารอินทรีย์ในบ่อมากเกินไป คุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงไม่เหมาะสม หรือค่าคุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ค่าปริมาณแอมโมเนียรวมในน้ำเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีหลังฝนตกพีเอชของน้ำและอุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนกุ้งปรับตัวไม่ทัน เป็นต้น  ซึ่งอาจกระตุ้นให้กุ้งก้ามกรามอ่อนแอ ตาย และเพิ่มระดับความรุนแรงเมื่อเกิดโรคในฟาร์มได้  

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์
รองอธิบดีกรมประมง

กรมประมงจึงขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้หมั่นสังเกต และเฝ้าระวัง ลักษณะอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้เพื่อป้องกันความเสียหาย ดังนี้ 

  1. กุ้งมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น กินอาหารลดลง เคลื่อนไหวช้า เกยขอบบ่อ ว่ายน้ำผิดปกติ 
  2. สีลำตัวเปลี่ยน เช่น สีซีด พบกล้ามเนื้อขาวขุ่น ลำตัวเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง  
  3. มีรอยโรคหรือจุดสีดำบนเปลือก ลำตัว หรือรยางค์
  4. เปลือกกร่อน รยางค์กร่อน 
  5. ตับและตับอ่อนมีสีซีดหรือมีสีที่เปลี่ยนไป มีขนาดเล็กลงหรือฝ่อลีบ
  6. ลำไส้ว่างไม่มีอาหาร
  7. พบกุ้งทยอยตาย หรือมีอัตราการตายมากผิดปกติ

นอกจากนี้ กรมประมงยังได้ร่วมกับคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการจัดทำมาตรการในการป้องกันการเกิดโรคในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งระบบตลอดสายการผลิต เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพดี แข็งแรง ทนต่อเชื้อโรค ดังนี้

โรงพ่อแม่พันธุ์,โรงเพาะฟัก,โรงอนุบาลในโรงเรือนบ่ออนุบาลกุ้งวัยรุ่น (บ่อชำ)/ฟาร์มเลี้ยงที่เป็นบ่อดิน
1. ใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ผ่านการตรวจคัดกรองโรคกุ้งก้ามกราม เช่น ไวรัสตัวแดงดวงขาว(WSSV) ไวรัสก่อโรคหัวเหลือง (YHV) โนด้าไวรัส (MrNV/XSV) และ ไวรัสดีไอวี1 (DIV1) เป็นต้น และไม่ใช้แม่พันธุ์ไข่ดำจากบ่อเลี้ยงที่สงสัยหรือมีประวัติการป่วยตายผิดปกติ1. ใช้ลูกกุ้งก้ามกรามที่แข็งแรง ปลอดเชื้อก่อโรค เช่น ไวรัสตัวแดงดวงขาว(WSSV) ไวรัสก่อโรคหัวเหลือง (YHV) โนด้าไวรัส (MrNV/XSV) ไวรัสดีไอวี1 (DIV1) และมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
2. มีการเตรียมบ่อใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรอบการเพาะพันธุ์และอนุบาล2. มีการเตรียมบ่อหรือปรับสภาพพื้นบ่อก่อนปล่อยกุ้งลงเลี้ยงทุกครั้ง โดยควรตากบ่อนานอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ร่วมกับการไถพรวนหน้าดินและใส่วัสดุปูน
3. มีการฆ่าเชื้อในน้ำทุกครั้งก่อนใช้ด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน 50 ppm และทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง3. ควรมีบ่อพักน้ำในฟาร์มและเตรียมน้ำทุกครั้งก่อนเริ่มรอบการเลี้ยง เพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดพาหะนำเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน 65% ในอัตรา 50 กก/ไร่ ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1.2 เมตร โดยระหว่างการเลี้ยงไม่ควรนำน้ำที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อเข้าสู่บ่อเลี้ยง
4. ควบคุมคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอได้แก่ ปริมาณออกซิเจน  (≥4 มก./ล.) ค่าpH (7.8-8.2) ค่าความเป็นด่าง (≥100 มก./ล.)4. ควบคุมปริมาณการให้อาหารระหว่างการเลี้ยงอย่างเหมาะสม และมีการกำจัดสารอินทรีย์ในบ่ออย่างสม่ำเสมอ เช่น การใช้จุลินทรี เป็นต้น
5. ควบคุมปริมาณการให้อาหารระหว่างการเลี้ยง
อย่างเหมาะสม
5. ควบคุมคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงให้อยู่ในเกณฑ์
ที่เหมาะสม โดยเฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเฉียบพลัน ได้แก่ ปริมาณออกซิเจน (≥4 มก./ล.) ค่าpH (7.8-8.2) ค่าความเป็นด่าง (≥100 มก./ล.)
6. มีการตรวจสุขภาพลูกกุ้งระหว่างการเลี้ยง
อย่างสม่ำเสมอ
6. เปิดเครื่องให้อากาศระหว่างการเลี้ยงเพื่อให้น้ำในบ่อ
มีการหมุนเวียนได้ดีลดการสะสมของเสียที่พื้นบ่อ
7. มีการตรวจสุขภาพและสังเกตพฤติกรรมกุ้งระหว่างการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า  สำหรับแนวทางในการจัดการกรณีพบกุ้งป่วย หรือกุ้งทยอยตาย หรือตรวจพบการติดเชื้อ ขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. แจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมงในพื้นที่ เพื่อร่วมหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น ตลอดจนเข้าเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ
  2. ไม่เคลื่อนย้ายกุ้งและทิ้งน้ำจากบ่อกุ้งป่วยออกสู่ภายนอกฟาร์ม
  3. กรณีตรวจพบกุ้งติดเชื้อไวรัสและมีอาการป่วยควรดำเนินการตัดวงจรเชื้อโรค ดังนี้
  • ใช้สารฆ่าพาหะเพื่อกำจัดกุ้งในบ่อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จากนั้นทิ้งน้ำไว้    อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ทำการฆ่าเชื้อไวรัสด้วยการใส่คลอรีน 65% ในอัตรา 50 กก./ไร่ ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1.2 เมตร ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
  • ปล่อยน้ำลงสู่บ่อพัก หรือหากปล่อยสู่แหล่งน้ำภายนอกต้องมั่นใจว่าไม่มีคลอรีนหลงเหลืออยู่เพื่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม หากคงเหลือให้ตากบ่ออีก 24-48 ชั่วโมง หรือเติมโซเดียมไทโอซัลเฟต
  • ตากบ่อให้แห้งและให้หยุดกิจกรรมภายในบ่อนานไม่น้อยกว่า 14 วัน

4. กรณีสามารถควบคุมอัตราการตายได้ และต้องการประคองการเลี้ยงจนสามารถจับขายได้ ควรดำเนินการ ดังนี้

  • มีการจัดการเลี้ยงที่ดี ควบคุมคุณภาพน้ำ ปริมาณออกซิเจนเพียงพอ และให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม
  • ไม่ใช้อุปกรณ์การเลี้ยงร่วมกับบ่ออื่นๆ ที่ไม่พบกุ้งป่วย
  • ไม่ปล่อยน้ำบ่อที่ตรวจพบเชื้อออกสู่ภายนอก
  • ควบคุมปริมาณสารอินทรีย์ในบ่อ จัดการการเลี้ยงและคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • เมื่อจับกุ้งขาย ให้ดำเนินการลดเชื้อในน้ำก่อนจับด้วยคลอรีน และจับกุ้งด้วยการลากอวน จากนั้นฆ่าเชื้อในบ่อและน้ำหลังการจับ ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกฟาร์ม

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้ายว่า เกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิดและหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำ ได้ที่กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์ 0 2579 4122 เว็บไซต์ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/ personel/1272 หรือ Line ID : 443kvkee

กรมประมง ข่าว