“ไทย” จัดสัมมนา “สุขภาพสัตว์น้ำระดับนานาชาติ” ผนึกกำลังเครือข่าย FHS-AFS

159

“ไทย” เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา “สุขภาพสัตว์น้ำระดับนานาชาติ” ผนึกกำลังประเทศภาคีเครือข่าย FHS-AFS แชร์ความรู้รับมือโรคสัตว์น้ำ

วันที่ 6 กันยายน 2566 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมสัมมนาด้านสุขภาพสัตว์น้ำแห่งสมาคมความร่วมมือทางการประมงในกลุ่มประเทศเอเชีย ในหัวข้อ “การส่งต่อองค์ความรู้และประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น : Fish Health Section of the Asian Fisheries Society (FHS-AFS) Conference: From the Pillars to the Next”  
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์โรคสัตว์น้ำและนวัตกรรมใหม่และนำไปปรับใช้ในกระบวนการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้เกิดการพัฒนาแหล่งสร้างผลผลิตคุณภาพ ปลอดโรค กับประเทศภาคีเครือข่ายของกลุ่มสุขภาพสัตว์น้ำ ภายใต้สมาคมความร่วมมือทางการประมงในกลุ่มประเทศเอเชีย (FHS-AFS) ในระหว่างวันที่ 6 – 8  กันยายน 2566 โดยมีนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดฯ Dr.Kua Beng Chu ประธานองค์กร FHS-AFS เป็นผู้กล่าวต้อนรับ ณ ห้องซาลอนบี โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพฯ รัชดา

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการผลิตสัตว์น้ำให้เกษตรกรได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมประมงกำหนดแนวทางการบริหารจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีปริมาณเพียงพอเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ การร่วมเป็นเครือข่ายกับกลุ่มประเทศภาคี หรือองค์กรต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านต่างๆ ทั้งในด้านนวัตกรรม สถานการณ์โรคสัตว์น้ำปัจจุบันจึงเป็นนโยบายการดำเนินงานสำคัญอันดับต้นๆ ที่กรมประมงให้ความสำคัญ  

การจัดประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะเป็นหนึ่งในประเทศภาคีเครือข่ายที่มีความพร้อมได้รับเกียรติจาก FHS-AFS องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานส่งเสริมด้านสุขภาพสัตว์น้ำในระดับสากลมากว่า 30 ปีให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “ประเทศไทย” มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรประเทศเครือข่ายกว่า 30 ประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน อันจะก่อให้เกิดการเติบโตในด้านเศรฐกิจและสังคม นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์และการพัฒนาความสัมพันธ์ของประเทศภาคีเครือข่ายงานให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ภายในงานได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคสัตว์น้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านสุขภาพสัตว์น้ำประเภทปลา และกุ้ง ซึ่งถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการในตลาดโลก อาทิ ด้านปลา : เรื่อง งานวิจัยด้านภูมิคุ้มกันในปลาเพื่อการพัฒนาวัคซีนสำหรับปลา โดย ดร. Ikuo Hirono จากประเทศญี่ปุ่น ความท้าทายและแนวทางการลดปัญหาโรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำ โดย ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ และ ด้านกุ้ง : เรื่อง การจัดการความท้าทายและปัญหาด้านโรคในการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดย ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ การส่งต่อองค์ความรู้ด้านงานวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดย ดร. Grace Chu-Fang Lo จากประเทศไต้หวัน การเสวนาในหัวข้อพิเศษที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิชาการด้านสุขภาพสัตว์น้ำทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์กว่า 30 เรื่อง จากนักวิจัยมากประสบการณ์จากหลากหลายประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานสัมมนาฯ อาทิ อังกฤษ นอร์เวย์ เม็กซิโก อิตาลี ฝรั่งเศส แคนาดา ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และประเทศกลุ่มอาเซียนโดยภายในงานได้รับความสนใจจากประเทศภาคีเครือข่ายองค์กร FHS-AFS และผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสัมนาจำนวน 250 ราย

อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมงเชื่อมั่นว่าการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ประเทศไทยจะนำความรู้ที่ได้รับมาเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการกำหนดนโยบายด้านการจัดการการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย ตลอดจนเป็นการสร้างแนวทางให้กับเกษตรกรไทยในการป้องกันและรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์น้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปจาก ดร.กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา จากศูนย์ไบโอเทค นายกสมาคมปลานิลแห่งประเทศไทยคนล่าสุดคุณอมร เหลืองนฤมิตรชัย อาทิ กิจกรรมการเลี้ยง การบริหารจัดการฟาร์ม การสร้างมาตรฐานระบบความปลอดภัยทางชีวภาพระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยกรมประมงจัดส่งนักวิชาการจำนวน 40 ท่านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กองวิจัยแลพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น เข้าร่วมการประชุมฯ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดผลงานที่เป็นประโยชน์และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรไทยต่อไป

กรมประมง ข่าว